วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จัดทำโดย

นางสาว สายฝน         ไกรสังข์                เลขที่ 13

นางสาว กันย์ลภัส      กลางมณี               เลขที่ 14

นางสาว พรนภา         บุญชู                     เลขที่ 15

นาย       ก้องภพ        พนมโสภณ            เลขที่ 23
นางสาว ปภาวี            รัตนศรี                  เลขที่ 24

นางสาว สรัสจันทร์     เสถียรวงศ์นุษา     เลขที่ 27

นางสาว ภูษณิศา       นิลรอด                  เลขที่ 29

นางสาว หนึ่งฤทัย      สีดี                        เลขที่ 31

นางสาว วลัยพร         กุลบุญญา             เลขที่ 32

มัธยมศึกษาปีที่ 6/4

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมา อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด

ประวัติความเป็นมา
      เมื่อปี พ.ศ. 2519 ได้มีการเคลื่อนไหวทางสื่อมวลชนว่า เกาะเสม็ดหรือเกาะแก้วพิสดาร เกาะในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ซึ่งเป็นวรรณคดีชิ้นเอกของท่านสุนทรภู่ เป็นเกาะเพชรเม็ดเอกของทะเลฝั่งตะวันออก กำลังทรุดโทรมเนื่องจากความสกปรกจากการทิ้งขยะของนักท่องเที่ยวและชาวบ้านเริ่มมาสร้างเพิงพักและร้านอาหาร บุกรุกแผ้วถางตัดไม้ทำลายป่าเพื่อให้ได้พื้นที่บริการ ดังนั้น กรมป่าไม้จึงได้สั่งการให้ นายวิจารณ์ วิทยศักดิ์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายจัดการวนอุทยาน กองอุทยานแห่งชาติ ดำเนินการสำรวจข้อมูลปรากฎ 
      ขณะนั้นทางจังหวัดระยอง กำลังร่วมมือกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( อ.ส.ท. ) วางแผนการพัฒนาเกาะเสม็ดเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่การดำเนินงานประสบอุปสรรค ทำให้ไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย ประกอบกับกลุ่มนิสิต นักศึกษา ตอลดจนนักอนุรักษ์ธรรมชาติ และผู้นำท้องถิ่นไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้สัมปทานดำเนินการท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดกับเอกชนรายใดรายหนึ่ง และไม่เห็นด้วยกับการสร้างกระเช้าไฟฟ้าข้ามจากชายฝั่งมายังเกาะเสม็ด มีการต่อต้านและเดินขบวนทำให้การดำเนินงานของ อ.ส.ท. ร่วมกับจังหวัดระยองหยุดชะงัก 
      ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 คณะกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปกรรม ได้เสนอให้กรมป่าไม้เข้าไปดำเนินการอนุรักษ์เกาะเสม็ดไว้ในรูปของวนอุทยาน ดังนั้น กรมป่าไม้โดยกองอุทยานแห่งชาติจึงได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รวมถึงเขาเตี้ยๆ ที่อยู่ริมทะเลบริเวณตำบลบ้านเพที่เรียกว่า เขาเปล็ด - เขาแหลมหญ้า และ ชายหาดแม่รำพึง ที่อยู่ต่อจากเชิงเขา รวมถึงเกาะเล็กเกาะน้อยที่อยู่ใกล้เคียงกับเกาะเสม็ด เพื่อจัดตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติทางทะเล ต่อไป 
      เขาแหลมหญ้า และหาดแม่รำพึง ซึ่งทอดยาวประมาณ 12 กิโลเมตร เกาะเสม็ด เกาะกุฎี เกาะท้ายค้างคาว เกาะกรวย เกาะมะขาม เกาะเกล็ดฉลาม เกาะปลายตีน เกาะยุ้งเกลือ เกาะทะลุ เกาะสันฉลาม รวมพื้นที่ประมาณ 131 ตารางกิโลเมตร หรือ 81,875 ไร่ ในท้องที่ตำบลบ้านเพ อำเภอเมือง และตำบลแกลง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งได้นำเสนอให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และในที่สุดก็สามารถออกพระราชกฤษฎีกา ประกาศจัดตั้งเป็น "อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด" ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 162 

สภาพภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศ

      อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด ประกอบด้วยพื้นที่แผ่นดินใหญ่ หมู่เกาะใหญ่น้อย และพื้นน้ำทะเลประมาณ 123 ตารางกิโลเมตร หรือ 94% ของพื้นที่ทั้งหมด สภาพส่วนใหญ่เป็นเขาเตี้ยๆ ริมทะเล มีหาดทรายทอดยาวไปตามแนวเหนือ - ใต้ สภาพเกาะเป็นภูเขาสูงและที่ราบริมทะเล ประกอบด้วยหาดทรายขาวสะอาด หินผาและเกาะแก่ง
     
มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ในท้องที่ ตำบลบ้านเพ อำเภอเมือง และตำบลแกลง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 131 ตารางกิโลเมตร หรือ 81,875 ไร่

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศ

- มีฝนตกโดยเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,351 มิลลิเมตร
ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กันยายน เป็นช่วงมรสุม จะมีคลื่นลมแรงมาก ออกทะเลไปเที่ยวเกาะต่างๆ ไม่ได้เป็นบางครั้ง เฉลี่ยแล้วในรอบ 1 เดือน จะมีคลื่นลมแรงประมาณ 15 วัน
ระหว่างเดือนธันวาคม – มีนาคม ในบางวันอาจจะมีลมมรสุมและฝนตกหนักออกทะเลไม่ได้เช่นกัน
อากาศร้อนที่สุด อยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน
อากาศเย็นที่สุด อยู่ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มกราคม

พรรณไม้

พรรณไม้
สภาพป่าในบริเวณเขาแหลมหญ้า เขาเปล็ด และเขาเทียน
 เกือบทั้งหมดเดิมเป็นป่าดงดิบแล้ง แต่เนื่องจากได้มีการเข้าทำลายและตัดฟันไม้ออกเป็นจำนวนมาก สภาพป่าจึงเปลี่ยนไป ทำให้สภาพป่าค่อนข้างโปร่งไม้พื้นล่าง เป็นไม้ขนาดเล็ก

สภาพป่าในบริเวณเกาะกุฎี เกาะกรวย และเกาะปลายตีน
ป่าเขาหินปูน พรรณไม้ที่พบเป็นไม้ขนาดเล็กและเจริญเติบโตช้า
ป่าชายหาด ขึ้นอยู่เป็นบริเวณแคบๆ ตามชายหาดที่มีดินทราย บางพื้นที่ได้รับอิทธิพลจากลมทะเล ไม้ใหญ่ไม่สามารถขึ้นได้นอกจากพวกหญ้า
พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยาง มะเดื่อ ไทร ข่อย ตะโกนา ปอ ตะขบ กระท้อน โพทะเล และเตยทะเล เป็นต้น

การเดินทาง

การเดินทาง

รถยนต์
สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังจังหวัดระยองได้ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3 สุขุมวิท ระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางหมายเลข 36 ซึ่งแยกจากทางหลวงหมายเลข 3 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 136 ซึ่งจะทำให้ระยะทางสั้นลง ประมาณ 35 กิโลเมตร เมื่อถึงตัวเมืองระยองแล้วเดินทางต่อไปอีก 12 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 231 เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร ไปยังบ้านเพ เพื่อลงเรือไปเกาะเสม็ด สำหรับการเดินทางบนเกาะเสม็ดมีถนนเพียงสายเดียวซึ่งแต่เดิมใช้เป็นทางเดิน ถนนสายนี้ยาว 6 กิโลเมตร เริ่มจากตอนเหนือของอ่าวทับทิมตัดผ่านสระน้ำอโนดาษ ลงสู่หาดทรายแก้ว ระยะทางจากบ้านเกาะเสม็ดถึงหาดทรายแก้ว ประมาณ 800 เมตร
เรือ
การเดินทางโดยเรือไปยังเกาะเสม็ดจะต้องลงเรือที่ท่าเรือบ้านเพ (บนฝั่ง) ซึ่งมีท่าเรือโดยสาร 3 แห่ง มีเรือโดยสารหลายขนาดบรรจุคนได้ตั้งแต่ 10-100 คน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที ให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-17.00 น. สำหรับท่าเรือที่เกาะเสม็ดทั้ง 3 แห่ง (บนเกาะ) คือ ท่าเรือด้านหัวเกาะ ด้านอ่าววงเดือน (อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะ) และด้านอ่าวพร้าว (อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ) นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการบางรายที่อยู่บริเวณอ่าวที่มีขนาดเล็กนิยมใช้เรือเร็วส่วนตัวในการรับ-ส่งนักท่องเที่ยวจากบ้านเพ ไปยังรีสอร์ทของตนเอง
รถโดยสารประจำทาง
เดินทางโดยรถยนต์โดยสารประจำทางของบริษัทขนส่ง จำกัด จะมีทั้งรถยนต์โดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ระหว่างกรุงเทพฯ-บ้านเพ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท ประมาณชั่วโมงละคัน ตั้งแต่เวลา 05.00-20.30 น.